Diary no.14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 8.30 - 12.30
          คาบนี้ต่อเนื่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งคาบที่แล้วได้ทำผังการสอนหน่วย กล้วย วันนี้อาจารย์จึงได้ตรวจและชี้แนะแนวทางพร้อมทั้งมีการแก้ไขให้เนื้อหาที่สอนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
 ผังการสอนหน่วย กล้วย จากสัปดาห์ที่แล้ว

  ผังการสอนหน่วย กล้วย จากสัปดาห์นี้ (ฉบับแก้ไขแล้ว)
เนื้อหาในผัง
1. ชนิด 
      - กล้วยน้ำว้า
      - กล้วยไข่
      - กล้วยหอม
      - กล้วยเล็บมือนาง
2. ลักษณะ  
     2.1 สี  
           - เขียว
           - เหลือง
           -  น้ำตาล
     2.2 ขนาด 
           - สั้น
           -  ยาว
           - เล็ก
           - กลาง
           - ใหญ่
      2.3 รูปทรง 
           - ทรงรี
      2.4 กลิ่น 
           - หอม
           - เหม็น
      2.5 ส่วนประกอบ 
           - มีเปลือกห่อหุ้ม
           - มีเม็ด
           - เนื้อสีขาว
3. ประโยชน์
     3.1 ถนอมอาหาร 
           - กวน
           - ตาก
           - ฉาบ
     3.2 ประกอบอาหาร 
           - เครื่องดื่ม ⇢ น้ำกล้วยปั่น
           - ของหวาน ⇢ กล้วยทอด
                           ⇢ กล้วยปิ้ง
                           ⇢ เค้กกล้วยหอม
                           ⇢ ไอศกรีม
            -  ของคาว ⇢ แกงคั่วซี่โครงหมูใส่กล้วยดิบ
                          ⇢ แกงกล้วยดิบ
                          ⇢ ส้มตำกล้วย
     3.3 สร้างอาชีพ / รายได้ 
            - ชาวสวน
            - คนขับรถส่งกล้วย
            - ค้าขาย ⇢ คนขายผลไม้
                        ⇢ คนขายกล้วยปิ้ง
                        ⇢ คนขายล้วยทอด
                        ⇢ คนขายไอศกรีม
     3.4 รักษาโรค 
           - กล้วยดิบแก้กระเพาะ
           - กล้วยสุกแก้ท้องผูก
           - กล้วยห่ามแก้ท้องเสีย
           - กล้วยงอมต้านมะเร็ง
4. ข้อควรระวัง 
          - ไม่ควรพูดขณะรับประทานอาหาร4.
          -  เก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม
          -  หากกินกล้วยที่ไม่สุก อาจทำให้เกิดลมในท้อง

           โดยเราต้องนำหน่วยการเรียนรู้มาเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ 8 สาระ
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต คือ ให้เห็นกระบวนการดำรงชีวิต เช่น เรื่องกล้วยเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ต้องมีความสัมพันธ์กันและบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร คือ การทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เช่นการแปรรูปกล้วยเป็นกล้วยฉาบหรือการนำกล้วยไปประกอบอาหาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ เช่น การจม การลอย
สาระที่ 5 พลังงาน คือ การใช้พลังานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการทำกล้วยตาก
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก คือ การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ เช่น การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างพายุทำให้กล้วยเกิดความเสียหาย
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เช่น กลางวันและกลางคืน
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     - ตั้งคำถาม
     - ตั้งสมติฐาน
     - การทดลอง
     - สรุปผล
     - ย้อนดูสมมติฐานว่าเป็นจริงหรือไม่
     - รายงานผลที่ได้
บรรยากาศในชั้นเรียน 


 

ความรู้ที่ได้รับ
     1.  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     2.  กระบวนการคิดให้มีความครอบคลุมแตกฉาน ละเอียดมากขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
         สามารถนำไปสอนได้ในหน่วยเรื่อง กล้วย โดยจัดเนื้อหาให้ลงแต่ละวันและกิจกรรม 6 หลัก
 
การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำงานกลุ่ม
อาจารย์ : ชี้แนะให้แต่ละกลุ่มและแนะแนวทางเนื้อหาได้ละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น