บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2560 เวลา 8.30 - 12.30
สรุป VCD ความลับของแสง
แสงสว่างสำคัญต่อการมองเห็น เพราะเมื่อแสงส่องลงมาโดนวัตถุต่างๆ แสงจะสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้ามาสู่ตาเราให้เรามองเห็นวัตถุ ถ้าไม่มีแสงเราก็จะอยู่ในความมืด
สมบัติของแสง
แสงจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง เมื่อมีวัตถุมากั้นทางเดินของแสงแสงก็จะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิมเข้าสู่ตาเรา โดยวัตถุบนโลกเรานี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
1. วัตถุโปร่งแสง คือ เมื่อมีวัตถุมากั้นการเดินทางของแสง เราจะเห็นแหล่งกำเนิดแสงไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ้า กระดาษชุบน้ำมัน กระดาษไข ฯลฯ
2. วัตถุโปร่งใส คือ เมื่อมีวัตถุมากั้นการเดินทางของแสง เราจะเห็นแหล่งกำเนิดแสงชัดเจน เช่น กระจกใส อากาศ น้ำใส พลาสติกใส แก้วใส ฯลฯ
3. วัตถุทึบแสง คือ เมื่อมีวัตถุมากั้นการเดินทางของแสง เราจะไม่เห็นแหล่งกำเนิดแสงเลย เช่น ไม้กระดาน หนังสือ กระเบื้อง ไม้อัด คอนกรีต ฯลฯ
ประโยชน์ของแสง
จากการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของแสงทำให้มนุษย์เรานำแสงมาใช้แทนกล้องถ่ายภาพแบบต่างๆ
ถ้า แสงสว่างสำคัญต่อการมองเห็นแล้ว เราเคยสังเกตไหมว่า เวลาไฟดับจะมองไม่เห็นอะไรเลยและเมื่ออยู่ในที่มืดไปสักพักจนแสงสว่ามาเราจะแสบตาทันที ทั้งนี้ก็เป็นเพราะตาของเราต้องปรับตัวให้ชินกับความมืดนั่นเอง
การปรับสายตาให้ชินกับความมืด
โครงสร้างของลูกตามนุษย์ |
เมื่อเราเข้าไปในที่มืด เช่น โรงภาพยนตร์ หรือปิดไฟนอน ตอนแรกเราจะมองไม่เห็น แต่พอผ่านไปสักพักก็จะค่อยๆ เห็นชัดขึ้น นี่คือ การปรับสายตาให้ชินกับความมืด จอตาของเรามีเซลล์รับภาพสองชนิดคือ เซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปกรวยมีหน้าที่รับภาพสี ส่วนเซลล์รูปแท่งมีหน้าที่รับภาพขาวดำ ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เซลล์รูปกรวยจะทำงาน ส่วนในที่มืดเซลล์รูปแท่งจะทำงานแทน
เมื่อเราเข้าสู่ที่มืด รูม่านตาจะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อให้แสงเข้าสู่ตามากขึ้น จากนั้นโปรตีนที่เรียกว่าโรดอปซินจะจัดเรียงตัวกัน ทำให้ตาแยกแยะสิ่งต่างๆ ได้ โรดอปซินจะสลายตัวไปเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ การปรับสายตาให้ชินกับความมืดก็คือ กระบวนการเรียงตัวของโรดอปซินนั่นเอง การเรียงตัวของโรดอปซินทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 30 - 40 นาที แต่ความเร็วในการปรับสายตาให้ชินกับความมืดจะเร็วกว่า ดังนั้นหลังจากที่เราเข้าที่มืดประมาณ 10 นาที ก็จะแยกแยะสิ่งต่างๆ รอบตัวได้และถ้าอยู่ในที่มืดเกินกว่า 40 นาที ก็จะยิ่งมองเห็นชัดเจนขึ้นอีก
ข้อมูล : การ์ตูนเรียนรู้มรดกโลกแสนสนุก ชุดเอาชีวิตรอดในสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ เล่มที่ 1
ความรู้ที่ได้รับ
เราได้เรียนรู้ในเรื่องของแสง การเดินทางของแสดง และนอกจากนี้ยังมีเกร็ดความรู้ในเรื่องของ
การปรับสายตาให้ชินกับความมืด
เราได้เรียนรู้ในเรื่องของแสง การเดินทางของแสดง และนอกจากนี้ยังมีเกร็ดความรู้ในเรื่องของ
การปรับสายตาให้ชินกับความมืด
การนำไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ โดยการตั้งสมมติฐานและทำงานทดลองอย่างง่ายเพื่อให้เด็กเข้าใจในเรื่องของแสงได้
การประเมิน
ตนเอง : สนุกกับการเรียน
เพื่อน : ตั้งใจเรียน
ตนเอง : สนุกกับการเรียน
เพื่อน : ตั้งใจเรียน
อาจารย์
: สอนดี
Vocabulary
การทดลอง Experimenting
สมมติฐาน hypothesis
การสังเกต Observe
วัตถุโปร่งใส Transparent object
คุณสมบัติ Qualification
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น