Diary no.7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 19 กันยายน 2560 เวลา 8.30 - 12.30
การสอนแบบโครงการ   Project Approach
โดย ดร.วรนาท   รักสกุลไทย
โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล 
ประโยชน์ของการสอนแบบโครงการ
     1. ช่วยให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่และเพิ่มความชํานาญในทักษะนั้นยิ่งขึ้น
     2. แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความถนัดของเด็ก
     3. แสดงให้เห็นแรงจูงใจภายใน และความสนใจที่เกิดจากตัวเด็กในงานและกิจกรรมที่ทํา
     4. ส่งเสริม ให้เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทําอะไร
กระบวนการ
          โครงการถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความหมายเหมาะกับพัฒนาการเด็ก
เป็นการศึกษาอย่างลึก โดยลักษณะโครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ
ไว้ 5 ข้อ คือ
     1. การอภิปรายกลุ่ม เป็นการให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทํากับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น
     2.การศึกษานอกสถานที่ ครูพาไปศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนนหนทาง ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ
      3. การนําเสนอประสบการณ์เดิม เด็กได้แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน
     4. การสืบค้น เด็กได้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลที่หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ หรืออาจจะสอบถามพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
     5. การจัดแสดง การจัดแสดงงานของเด็ก
          ลักษณะทั้ง 5 ประการของโครงสร้างที่กล่าวมานี้ เด็กจะเรียนรู้ในแต่ละระยะของงานโครงการ ซึ่งมีอยู่ 3 ระยะ คือ 
     ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้และความสนใจเด็ก
          เด็กและครูใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอภิปรายเพื่อเลือกและปรับหัวเรื่องที่จะทําการสืบค้นหัวเรื่องอาจเสนอโดยเด็ก ครู หรือครูและเด็กร่วมกัน โดยใช้หลักในการเลือกหัวเรื่อง ดังนี้
     - เลือกหัวเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ทุกวัน
     - เลือกหัวเรื่องที่มีคุณค่าสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก
     - ทักษะทางการรู้หนังสือและจำนวน
     - หัวเรื่องที่เลือกควรใช้เวลาทำโครงการได้อย่างน้อย 1 สัปดาห์
     ระยะที่ 2 ให้โอกาศเด็กค้นคว้าและมีประสบการณ์ใหม่
          เป็นงานภาคสนาม ประกอบกับการสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ระยะนี้เป็นหัวใจของโครงการ
ครูจะเป็นผู้จัดหา จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น
     ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนกลับ และแลกเปลี่ยนงานโครงการ
          เป็นระยะสรุปเหตุการณ์ รวมถึงการเตรียมการเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดง การค้นพบ และจัดทําสิ่งต่างๆ
 
สามารถศึกษาข้อมูลต่อได้ที่
http://napatsorn.ac.th/v2/files/news/L05_TD0385_001_Project_Approach_Thai.pdf


          หลังจากได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแบบโครงการแล้ว อาจารย์ให้จับกลุ่ม 4 คน คิดเมนูอาหารมากลุ่มละ 1 อย่าง เพื่อใช้ในการสอน Cooking สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ลงความเห็นแล้วว่าจะทำเรื่อง พิซซ่า โดยขั้นตอนการวางแผนงานจะมีรายละเอียดดังนี้

วัตถุดิบที่ใช้
     1. ขนมปัง
     2. ซอสพิซซ่า/ซอสมายองเนส/ซอสมะเขือเทศ
     3. ไส้กรอก
     4. แฮม
     5. ปูอัด
     6. ข้าวโพด
     7. สับปะรด
     8. ชีส
 อุปกรณ์
   1. ช้อน
   2. ถ้วย
   3. มีด/เขียง
   4. จานกระดาษ
   5. เตาอบ
สัดส่วน
ขนมปัง                         1 แผ่น
ซอสพิซซ่า                    1 ช้อน
วัตถุดิบแต่งหน้าพิซซ่า      3 อย่าง อย่างละ 1 ช้อน
ขั้นตอนการทำ
   1. แจกขนมปังให้เด็กคนละ 1 แผ่น แล้วออกแบบเป็นรูปทรงตามจินตนาการ
   2. นำซอสพิซซ่าทาบนขนมปัง 1 ช้อน
   3. เลือกวัตถุดิบแต่งหน้าพิซซ่า 3 อย่าง อย่างละ 1 ช้อนใส่ลงบนขนมปัง
   4. นำพิซซ่าของตนเองเข้าเตาอบ
   5. นำออกจากตบอบแล้วใส่จานกระดาษ
          จากการวางแผนทำอาหารในการสอนเรื่องของ พิซซ่า ซึ่งเด็กก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ตามแบบ STEM ดังนี้
S (Science)             การเปลี่ยนแปลงของพิซซ่าเมื่อนำเข้าเตาอบ
T (Technology)       อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิซซ่า
E (Engineering)       การออกแบบ ตกแต่ง
M (Math)                สัดส่วนของวัตถุดิบที่จะนำมาใส่ในพิซซ่า

ความรู้ที่ได้รับ
          เราได้เรียนรู้ในเรื่องของการสอนแบบโครงการ Project Approach ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบนุ่มลึกและเป็นการเรียนอย่างหนึ่งที่เน้นให้เด็กได้สืบเสาะหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้อย่างหลากหลายด้วยตนเองพร้อมทั้งเกิดความรู้ใหม่ๆ
การนำไปประยุกต์ใช้
          เราสามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนในการสอนเด็กปฐมวัยในการทำ Cooking โดยนำการเรียนแบบ STEM ศึกษาเข้ามาบูรณาการเข้าไปด้วย
 
การประเมิน
ตนเอง : สนุกกับการเรียน
เพื่อน : ตั้งใจเรียน
อาจารย์ : สอนดี


Vocabulary

สัดส่วน        Proportion
วัตถุดิบ        Raw material
อุปกรณ์       equipment
วิศวกรรม     Engineering
นิทรรศการ   Exhibition

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น