งานวิจัย

ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี 

ปริญญานิพนธ์ ของ พรทิพย์  เกนโรจน์
           เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2553
เผยแพร่โดย : นางสาวนพเก้า โมลาขาว

          ผู้วิจัยสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี สามารถที่จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ ตลอดจนส่งผลถึงกระบวนการเรียนรู้และสามารถส่งเสริมพัฒนาด้านสติปัญญาในด้านของทักษะการสังเกต และการจำแนกเปรียบเทียบได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลวิจัยในครั้งนี้เป็นแนวทางสำหรับครู ผู้บริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในด้านอื่นๆ ต่อไป

ความมุ่งหมายของการวิจัย
          การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี โดยเปรียบเทียบทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี 

ความสำคัญของการวิจัย
        การวิจัยในครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการศึกษาสำหรับครู ผู้ปกครอง ผู้จัดการศึกษา รวมถึงผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้ทราบถึงผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี ที่ส่งเสริมทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย 
 
ขอบเขตของการวิจัย
     ประชาการและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
     ประชาการที่ใช้ในการวิจัย 
          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนอนุบาลช้างมงคล เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 35 คน
     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนอนุบาลช้างมงคล เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มา 1 ห้องเรียน จากจำนวนทั้งหมด 2 ห้องเรียน

ระยะเวลาในการทดลอง
          การศึกษาใรครั้งนี้ ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ ละ 3 วัน รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

ตัวแปละที่ศึกษา
     1. ตัวแปรอิสระ   คือ    การได้รับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี
     2. ตัวแปรตาม    คือ    ทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบ


กรอบแนวคิดของการวิจัย

สมมติฐานในการวิจัย
     1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี มีทักษะการสังเกตสูงขึ้นกว่าก่อนจัดกิจกรรม
     2.  เด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี มีทักษะการเปรียบเทียบสูงขึ้นกว่าก่อนจัดกิจกรรม


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี                        จำนวน    24   กิจกรรม
     2. แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย               1 ชุด     จำนวน    20   ข้อ
     3. แบบทดสอบวัดทักษะการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย        1 ชุด     จำนวน    20   ข้อ


สรุปผลการวิจัย

     1. หลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี เด็กปฐมวัยมีทักษะการสังเกตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        2. หลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี เด็กปฐมวัยมีทักษะการเปรียบเทียบสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ภาคผนวก
รายชื่อกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี

แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี     จำนวน   24   กิจกรรม
 แผนกิจกรรม กากมะพร้าวหรรษา
 

แผนกิจกรรม เส้นหมี่สดใส
 แผนกิจกรรม เกลือสีแสนสวย

แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย               1 ชุด     จำนวน    20   ข้อ


แบบทดสอบวัดทักษะการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย        1 ชุด     จำนวน    20   ข้อ
 ภาพกิจกรรม 
ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น