Diary no.3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2560 เวลา 8.30 - 12.30



การทดลองในชั้นเรียน "กระดาษลอยฟ้า"
         
          ในชั้นเรียนวันนี้อาจารย์ได้ให้กระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น โดยให้แต่ละคนใช้ความคิดว่า จะทำอย่างไรให้กระดาษลอยฟ้าได้นานที่สุด เมื่อทดลองแล้วพบว่าแต่ละคนมีวิธีการที่แตกต่างกัน  เช่น บางคนพับจรวจ นก ลูกบอล ฯ และบางคนก็ไม่ได้พับอะไรเลย และวิธีที่แต่ละคนได้ทำนั้นปรากฎว่าแต่ละชิ้นตกลงพื้นในเวลาที่แตต่างกัน
          หลังจากผ่านกิจกรรมแรกไป อาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม 4-5 คน ร่วมกันระดมความคิดว่า จะทำอย่างไรให้กระดาษลอยฟ้าได้นานที่สุด ซึ่งครั้งแรกของการทดลองในกลุ่มเราได้แบ่งครึ่งกระดาษ A4 แล้วพับเป็นเครื่องร่อนที่มีขนาดเล็ก ปรากฎว่า เครื่องร่อนของกลุ่มเราสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด
          การทดลองครั้งที่สองผ่านไป ครั้งนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มกลับมาคิดหาวิธีว่าจะทำให้กระดาษลอยฟ้าได้นานที่สุดโดยไม่ใช่เครื่องร่อน ซึ่งครั้งนี้เราสามารถหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้
ซึ่งกลุ่มเราตัดสินใจเลือกทำกระดาษโดยได้ไอเดียจากลูกยาง โดยกลุ่มเราตัดกระดาษเป็นรูปตัว Y แล้วม้วนหางตัว Y เพื่อถ่วงน้ำหนัก
          
          เมื่อทดลองแล้วปรากฎว่าลูกยางกระดาษสามารถลอยอยูในอากาศได้นาน อาจารย์จึงให้นำมาปรับปรุงในลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าเดิม โดยกลุ่มเราได้นำหางตัว Y มาแม็กเพื่อถ่วงน้ำหนัก ให้ลูกยางลอยอยู่ในอากาศได้นานยิ่งขึ้น

 
 

ความรู้ที่ได้รับ
          เราได้ความรู้ และทักษะ รวมถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ได้นำมาซึ่งคำตอบของโจทย์ "กระดาษลอยฟ้า" จากการทดลอง ลองผิดลองถูก
การนำไปประยุกต์ใช้
          เราสามารถคิดวิทยาศาสตร์หรือการทดลองง่ายๆ ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เพื่อให้เด็กได้รู้ เข้าใจ และเป็นการส่งเสริมการรักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ภายในตัว ในฐานะที่เราจะไปเป็นครูในอนาคตเราต้องทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่อง "น่าสนุก"
         
การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ชอบกับกิจกรรมในวันนี้
เพื่อน : สนุกกับกิจกรรม
อาจารย์ : ให้คำแนะนำให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

Vocabulary
Air                อากาศ
Floating         การลอยตัว
Experiment    การทดลอง
Nature           ธรรมชาติ
Crank            การเหวี่ยง 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น