Diary no.6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 12 กันยายน 2560 เวลา 8.30 - 12.30



 งานวิจัย เรื่อง
 ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อ
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          วันนี้ นางสาวศุภพิชษ์ กาบบาาลี นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยจุดมุ่งหมายของวิจัยนี้คือเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทำวิจัยกับเด็กอนุบาล 2 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม จำนวน 120 คน ผ่านเครื่องมือคือแผนการสอนและแบบทดสอบก่อน - หลัง และได้ผลสรุปว่า เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
 
สามารถศึกษาวิจัยต่อได้ที่ https://spupapitt.blogspot.com/2017/09/learning-log-6_15.html


เนื้อหาในชั้นเรียน
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
   1. การเปลี่ยนแปลง (Change) = การเจรญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
   2. ความแตกต่าง (Variety) = ผลแอปเปิ้ลเหมือนกัน แต่คนละสี
   3. การปรับตัว (Adjustment) =สัตว์บางชนิดเปลี่ยนสีให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อพลางตัว
   4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutually) = เหาฉลามกับปลา นกเอี้ยงกับควาย
   5. ความสมดุล (Equilibrium) = ทุกสิ่งในโลกต้องปรับตัวให้ตัวเองอยู่รอด เช่น ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
 
องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
   1. องค์ประกอบด้านความรู้ (เนื้อหา) 
        - ความรู้ของธรรมชาติ
        - ใช้กระบวนการสืบหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า
        - ผ่านการทดสอบและยืนยันว่าเป็นจริงเรียกว่า ทฤษฎี
   2. องค์ประกอบด้านเจตคติ  
   3. องค์ประกอบด้านกระบวนการ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท
    1. ข้อเท็จจริง (Fact) = น้ำไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ
    2. มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept) = แมวเป็นสัตว์มี 4 ขา มีหนวด เลี้ยงลูกด้วยนม
    3. หลักการ (Principle) = ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
    4. กฎ (Law) = น้ำเมื่อเย็นตัวลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของมันจะมากขึ้น
    5. ทฤษฎี (Theory) = รวมทั้ง 4 ตัวข้างต้นที่กล่าวมา จนกลายเป็นความจริงที่คนทั่วไปยอมรับ


วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มีดังนี้คือ
    1. ขั้นสังเกต (Observation)
    2. ขั้นตั้งปัญหา (State Problem)
    3. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
    4. ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis)
    5. ขั้นสรุป (Conclusion)

 
ความรู้ที่ได้รับ
          เราได้เรียนรู้ในเรื่องของแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบทางวิทยาศาสตร์ ความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์
         
การนำไปประยุกต์ใช้
          เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนในการสอนเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวช่วยในการเรียนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ให้ดีที่สุด
 
การประเมิน
ตนเอง : สนุกกับการเรียน
เพื่อน : ตั้งใจเรียน
อาจารย์ : สอนดี


Vocabulary

การเปลี่ยนแปลง       Change
ความแตกต่าง          Variety
การปรับตัว              Adjustment
การพึ่งพาอาศัยกัน    Mutually
หลักการ                 Principle
ทฤษฎี                   Theory
ขั้นสังเกต               Observation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น