ตัวอย่างการสอน
โดย : ครูปานหทัย อึ้งเกมษมศรี ( ครูประจำชั้นระดับอนุบาล 1 ) โรงเรียนบ้านคุณแม่ จ.เชียงใหม่
ทางช่อง : true ปลูกปัญญา ทรูวิชั่นส์ 9
ตอน : เพื่อนครู : โคมลอย
อำนวยการผลิตโดย : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สรุปความรู้
ครูป่านเตรียมความพร้อมเด็กๆในเรื่องของวิถีชีวิต การดำรงอยู่ โดยเริ่มฝึกตั้งแต่เล็กๆ ในเรื่องของชีวิตประจำวันและการช่วยเหลือตนเอง เพราะ "การที่คนเราจะไปอยู่ในสังคมได้ ต้องใช้ชีวิตให้เป็น"
โดยแนวทางของครูป่านก็คือ เรียนปนเล่น โดยการค่อยๆ คุยให้เขาเข้ามารเียนรู้ เปิดใจ เปิดโอกาสให้เด็กและดูความต้องการของเขา ซึ่งถ้าเด็กถามแล้วเราไม่รู้อย่าโกหกเด็ก ควรไปหาความรู้ด้วยกัน โดยจะต้องสอดแทรกให้เด็กรู้ว่าจะต้องไปหาวิธีไหนให้ได้มาซึ่งคำตอบอีกทีหนึ่ง ซึ่งครูก็จะคอยจัดระบบกระบวนการคิดให้เด็กและเป็นผู้ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ
และในทุกๆ เช้าครูป่านจะพาเด็กๆ เดินเที่ยวชมรอบๆ โรงเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกต เมื่อเด็กๆ รู้จักสังเกตแล้วเขาก็จะเริ่มตั้งคำถามเอง ซึ่งครูป่านก็จะคอยสอดแทรกกระบวนการคิดและกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ไปด้วย
และจากการพาเด็กๆ เดินเที่ยวชมรอบๆ โรงเรียนนั้น เด็กๆ ของครูป่านเห็นโคมลอยของพี่ๆ ชั้นประถมที่เขาปล่อยขึ้นฟ้า เด็กจึงถามครูป่านว่า "โคมลอยลอยได้ยังไงครับ"
จากคำถาม.....สู่การเรียนรู้
กิจกรรมนี้ครูป่านจะเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้คิดเปิดโอกาศให้ถาม และเรียนรู้จากนามธรรม โดยให้เด็กๆ ลงมือปฏิบัติจริงผ่านการตรวจสอบด้วยตัวเอง
จากคำถามว่าโคมลอยลอยได้อย่างไรนั้น เด็กๆ ก็จะมาตั้งสมมติฐานกัน
ซึ่งขั้นตอนการพิสูจน์โดยทดลองนี้ครูผ่านจะใช้ ถุงชาเป็บแบบจำลองของโคมลอย ซึ่งทดสอบจากความคิดเด็กว่า ใช้ลมจากใบไม้และพัดลมในการลอย โดยวิธีนี้ถุงชาก็ลอยได้แต่ลอยในทิศทางซ้าย-ขวา ไม่ใช่ลอยขึ้นบน (กระบวนการนี้เด็กๆ ได้เรียนรู้ในเรื่องของทิศทางด้วย) และวิธีการทดลองสุดท้ายโดยให้ไฟ
การทดลองการลอยโดยใช้ไฟนี้ครูป่านได้หยิบยกกิจกรรมมาจากบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง จรวจถุงชา ซึ่งครูป่านให้แบ่งเป็นสองกลุ่มเพื่อให้เด็กๆ มองเห็นกิจกรรมได้ง่ายขึ้น
ถุงชาที่ใช้ในการทดลอง |
แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม |
จากการทดลองโดยใช้ไฟ ปรากฎว่ากระดาษลอยขึ้นทิศบน
เริ่มจุดไฟ |
เด็กๆ สัมผัสถึงความร้อน |
เผาไหม้เสร็จ ถุงลอยขึ้นด้านบ้าน |
ขั้นตรวจสอบการพิสูจน์จาการทดลอง
ในตอนท้ายกิจกรรมครูป่านจะถามเด็กๆ เสมอว่า "ถ้าครูนำกิจกรรมมาเด็กๆ จะทำอย่างไร หรืออยากทำอะไรในกิจกรรม" และเด็กๆ จะบอกได้ว่าเขาใช้ทักษะอะไร กิจกรรมใช้วิธีไหน อะไร อย่างไง
และจาการทดลองครูป่านนำโคมของจริงมาเพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เด็กหาคำตอบมานั้นเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งครูเปิดพัดลมให้โคมพองตัวและตั้งขึ้น โดยขั้นตอนนี้ครูป่านให้เด็กๆ ลองจับโคมว่าเป็นอย่างไร จากนั้นครูเอทำการจุดไฟและปล่อยโคม
สรุปกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การลอยของโคม
ประการรแรก อากาศมีแรงกดดันในทุกทิศทาง แรงกดนี้มีทั้งแรงกดและแรงผลัก มันจะผลักสิ่งที่เบากว่า
ประการที่สอง อากาศมีน้ำหนัก อากาศที่มีมวลมากกว่าจะมีแรงกดดันมากกว่าที่พื้นผิวของโลก แรงดึงดูดของโลกจะดึงดูดอากาศไว้ ทำให้อากาศบริเวณพื้นผิวมีมวลมากกว่า มีความหนาแน่นมากกว่า แรงกดดันของอากาศจะมีมากบริเวณที่ห่างออกไปเมือเราจุดโคมไฟ ทำให้อากาศในโคมร้อนขึ้น ทำให้อากาศขยายตัว ในโคมมีปริมาตรที่จำกัด ไม่สามารถขยายตัวตามอากาศได้ จึงทำให้อากาศส่วนหนึ่งหลุดออกจากโคม เพราะฉนั้น ในปริมาตรของโคมเท่าเดิม แต่มีมวลของอากาศน้อยกว่า จึงทำให้มันเบากว่าอากาศรอบๆ ตัวของมัน มันจึงถูกอากาศรอบๆตัวของมันเข้าแทนที่หรื...
ทำไมโคมที่หนักกว่าอากาศจึงลอยได้
เพราะอากาศเองก็มีน้ำหนักเช่นกัน อากาศที่เต็มอยู่ในโคม มันจะมีน้ำหนักของมันเองบวกกับโคม สมมุติว่า น้ำหนักอากาศในโคมเท่ากับ10 (เท่ากับน้ำหนัก ถ้าจะให้โคมลอยได้ต้องทำให้มีน้ำหนักรวม
เมื่อโคมได้รับความร้อนทำให้อากาศขยายตัว จนมีบางส่วนล้นออกไป ถ้าออกไปมากกว่า5 จะทำให้น้ำหนักรวมต่ำกว่า10 มันจะลอยได้
ความแตกต่างของมวลอากาศจากด้านบนและด้านล่าง ทำให้เกิดแรงผลักหรือแรงยก ดั่งเช่นอากาศที่ต่างกันทั้งสองด้านของปกเครื่องบิน ใต้ปีกจะมีแรงกดดันมากกว่ามันจึงผลักเครื่องบิน
ประการที่สอง อากาศมีน้ำหนัก อากาศที่มีมวลมากกว่าจะมีแรงกดดันมากกว่าที่พื้นผิวของโลก แรงดึงดูดของโลกจะดึงดูดอากาศไว้ ทำให้อากาศบริเวณพื้นผิวมีมวลมากกว่า มีความหนาแน่นมากกว่า แรงกดดันของอากาศจะมีมากบริเวณที่ห่างออกไปเมือเราจุดโคมไฟ ทำให้อากาศในโคมร้อนขึ้น ทำให้อากาศขยายตัว ในโคมมีปริมาตรที่จำกัด ไม่สามารถขยายตัวตามอากาศได้ จึงทำให้อากาศส่วนหนึ่งหลุดออกจากโคม เพราะฉนั้น ในปริมาตรของโคมเท่าเดิม แต่มีมวลของอากาศน้อยกว่า จึงทำให้มันเบากว่าอากาศรอบๆ ตัวของมัน มันจึงถูกอากาศรอบๆตัวของมันเข้าแทนที่หรื...
ทำไมโคมที่หนักกว่าอากาศจึงลอยได้
เพราะอากาศเองก็มีน้ำหนักเช่นกัน อากาศที่เต็มอยู่ในโคม มันจะมีน้ำหนักของมันเองบวกกับโคม สมมุติว่า น้ำหนักอากาศในโคมเท่ากับ10 (เท่ากับน้ำหนัก ถ้าจะให้โคมลอยได้ต้องทำให้มีน้ำหนักรวม
เมื่อโคมได้รับความร้อนทำให้อากาศขยายตัว จนมีบางส่วนล้นออกไป ถ้าออกไปมากกว่า5 จะทำให้น้ำหนักรวมต่ำกว่า10 มันจะลอยได้
ความแตกต่างของมวลอากาศจากด้านบนและด้านล่าง ทำให้เกิดแรงผลักหรือแรงยก ดั่งเช่นอากาศที่ต่างกันทั้งสองด้านของปกเครื่องบิน ใต้ปีกจะมีแรงกดดันมากกว่ามันจึงผลักเครื่องบิน
ข้อมูลการลอยของโคมจาก : http://www.physics2u.org/ ออนซอนฟิสิกส์ สังคมแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น